0
ท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสารเกี่ยวกับ โครงสร้างและกระบวนการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล ได้ที่นี่
0
เกี่ยวกับที่มาของตำบลหล่อยูงนั้นคนเฒ่าคนแก่ พื้นที่แห่งนี้เต็มไปด้วยต้นหล่อ ซึ่งเป็นไม้เนื้ออ่อนบางจากใบหล่อสามารถนำมารักษาโรคซางที่เกิดกับเด็กได้
และสมัยก่อนบริเวณนี้มีการทำนาอย่างแพร่หลาย ซึ่งให้บังเอิญว่าต้นหล่อต้นหนึ่งยืนต้นอยู่ข้างชายนา นกยูงซึ่งลงมากินข้าวช่วงข้าวออกรวง บินขึ้นไปเกาะบนต้นหล่อ ชาวบ้านที่ทำงานอยู่แถวนั้นเห็นเข้าก็ชี้ชวนกันดูนกยูงบนต้นหล่อ เรียกไปเรียกมาเพี้ยนเป็นหล่อยูงจนถึงทุกวันนี้
ดวงตราขององค์การบริหารส่วนตำบลหล่อยูง
ความหมายตราสัญลักษณ์
องค์การบริหารส่วนตำบลหล่อยูง (อบต.หล่อยูง) มีตราสัญลักษณ์เป็นรูป นกยูงเกาะบนต้นหล่อ ซึ่งสัญลักษณ์ดังกล่าว มีความหมายตามประวัติความเป็นมาของตำบลหล่อยูง
|
ต้นหล่อ หมายถึง ต้นไม้ชนิดหนึ่งซึ่งเป็นไม้เนื้ออ่อน มีอยู่มากในพื้นที่ ตำบลหล่อยูง คนสมัยก่อนนำยางจากต้นหล่อมาใช้รักษาโรคซาง |
|
นกยูง หมายถึง นกชนิดหนึ่ง ซึ่งมีมากในพื้นที่ตำบลหล่อยูง ซึ่งหาก ศึกษาตามประวัติของตำบลหล่อยูง นกยูงจะเป็นนกที่ลงกินข้าวในนาของชาวบ้าน ที่กำลังออกรวง |
0
องค์การบริหารส่วนตำบลหล่อยูง อยู่ในเขตภาคใต้ของประเทศไทย ตั้งอยู่ 81/8 หมู่ที่ 1 ตำบล
หล่อยูง อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา เป็นตำบลหนึ่งในเขตอำเภอตะกั่วทุ่ง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอ
ระยะทางห่างจากอำเภอประมาณ 20 กิโลเมตร มีหมู่บ้านทั้งหมด 10 หมู่บ้าน คือ
หมู่ที่ 1 บ้านหล่อยูง
หมู่ที่ 2 บ้านบางปลา
หมู่ที่ 3 บ้านนา
หมู่ที่ 4 บ้านทองหลาง
หมู่ที่ 5 บ้านควน
หมู่ที่ 6 บ้านแหลมหิน
หมู่ที่ 7 บ้านบางจัน
หมู่ที่ 8 บ้านในหยง
หมู่ที่ 9 บ้านบากัน
หมู่ที่ 10 บ้านหล่อยูงตะวันออก
ตำบลหล่อยูง มีอาณาเขต ดังนี้ (ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา)
ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลโคกกลอย อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา ที่แนวสันเขาเทือกเขานางหงส์บริเวณพิกัดเอ็มเค 267172 ไปตามแนวสันเขาเทือกเขานางหงส์ ถึงบริเวณพิกัดเอ็มเค 279195 ซึ่งเป็นเขตติดต่อกับตำบลนาเตยอำเภอท้ายเหมือง และไปทางทิศตะวันออกตามแนวสันเขา ถึงบริเวณพิกัดเอ็มเค 286195ซึ่งเป็นเขตติดต่อกับตำบลกะไหล และไปทางทิศใต้ตามแนวสันเขาถึงบริเวณพิกัดเอ็มเค 293183 รวมระยะทางด้านทิศเหนือประมาณ 5 กิโลเมตร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลท่าอยู่ อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา ที่แนวสันเขา
บริเวณพิกัดเอ็มเค 293183 ไปทางทิศใต้ตามแนวสันเขา ผ่านเขตบ้านบางยี่เสือ และตัดผ่านถนนพังงา-ภูเก็ต บริเวณพิกัดเอ็มเค 295149 แล้วตัดผ่านแนวสันเขา และผ่านบ้านนาโทงไปจนถึงบริเวณพิกัดเอ็มเค 294107 และไปทางทิศตะวันออกถึงแนวสันเขาบริเวณพิกัดเอ็มเค 315115 ผ่านแนวสันเขาถึงบริเวณพิกัดเอ็มเค 328105 ไปทางทิศใต้ ตามแนวสันเขา ตัดผ่านถนน รพช.พง หมายเลข 11014 บริเวณพิกัดเอ็มเค 332086 ไปทางทิศตะวันออกตามแนวสันเขาบางหลามถึงบริเวณพิกัดเอ็มเค 346088 ซึ่งเป็นเขตติดต่อกับตำบลคลองเคียน ไปทางทิศใต้ตามแนวสันเขา เทือกเขาบางหลามตัดผ่านถนนสาย บ้านทองหลาง บ้านคลองใส บริเวณพิกัดเอ็มเค 333071 ไปตามแนวสันเขาถึงบริเวณพิกัดเอ็มเค 328000 ไปถึงร่องน้ำลึก คลองท่านุ่นเอ็มเค 331870 รวมระยะทางด้านทิศตะวันออกประมาณ 28 กิโลเมตร
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ที่ร่องน้ำลึกคลองท่านุ่นบริเวณพิกัด
เอ็มเค 331873 ไปทางทิศตะวันตก ตามแนวกึ่งกลางตลอดท่านุ่นถึงบริเวณพิกัดเอ็มเค 298000 และไปทางทิศเหนือตามแนวกึ่งกลางคลองท่านุ่น ถึงบริเวณพิกัดเอ็มเค 249053 รวมระยะทางด้านทิศใต้ประมาณ 12 กิโลเมตร
ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลโคกกลอย อำเภอตะกั่วทุ่ง ที่กึ่งกลางคลองท่านุ่นบริเวณพิกัดเอ็มเค 275070 และไปทางทิศเหนือตามแนวสันเขา ตัดผ่านถนนสายพังงา - ภูเก็ต บริเวณพิกัดเอ็มเค 284095 และตัดผ่านแนวสันเขาควนคาบริเวณพิกัดเอ็มเค 272156 ไปจนถึงแนวสันเขาเทือกเขานางหงส์บริเวณพิกัดเอ็มเค 267172 ซึ่งเป็นเขตติดต่อกับด้านทิศเหนือ รวมระยะทางด้านทิศตะวันตกประมาณ 15 กิโลเมตร
เนื้อที่
องค์การบริหารส่วนตำบลหล่อยูง มีขนาดพื้นที่ 95 ตารางกิโลเมตร หรือ 59,375 ไร่
เป็นพื้นที่ทำการเกษตร 39,117 ไร่
0
ลักษณะภูมิประเทศ ของตำบลหล่อยูง ประกอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อน ที่ราบชายฝั่งทะเลและที่ราบหุบเขาประมาณ 60 % พื้นที่เนินเขาประมาณ 25 % และที่ราบชายฝั่งประมาณ 15 %
ลักษณะภูมิอากาศ ของตำบลหล่อยูง มีภูมิอากาศแบบมรสุมเมืองร้อน โดยได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ กับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มี 2 ฤดู คือ
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือน มกราคม ถึง เมษายน เป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งพัดผ่านอ่าวไทย เข้าสู่ชายฝั่งตะวันออกของประเทศไทย ทำให้ฝั่งทะเลตะวันตกมีฝนตกน้อย
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือน พฤษภาคม ถึง ธันวาคม เป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งพัดผ่านมหาสมุทรอินเดียเข้าสู่ภาคใต้ มีปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยประมาณ 3,654 มิลลิเมตร
0
0
0
แผนที่ตำบลหล่อยูง
0
อาชีพ
ประชากรส่วนใหญ่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหล่อยูง ประกอบอาชีพทางการเกษตรทำการประมงเป็นอาชีพรอง และมีการค้าขายและรับจ้างทั่วไปซึ่งมีอยู่ไม่มากนัก โดยแบ่งออกได้ดังนี้
ทำสวนยางพารา ประมาณ 80 %
ทำการประมงชายฝั่งและประมงน้ำจืด ประมาณ 15 %
ค้าขายและรับจ้างทั่วไป ประมาณ 5 %
รายละเอียดพื้นที่การเกษตรและพืชเศรษฐกิจของตำบลหล่อยูง ดังนี้
พื้นที่ตำบล 59,375 ไร่ หรือ 95.00 ตารางกิโลเมตร
พื้นที่การเกษตร 39,117 ไร่ หรือ 62.69 ตารางกิโลเมตร
ครัวเรือนทั้งหมด 2,025 ครัวเรือน
ครัวเรือนเกษตร 1,161 ครัวเรือน
กลุ่มสตรี 10 กลุ่ม
กลุ่มอาชีพทางการเกษตร 11 กลุ่ม
กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต 5 กลุ่ม
กลุ่มโครงการเศรษฐกิจชุมชน - กลุ่ม
พื้นที่พืชไร่ - ไร่
พื้นที่ไม้ผล ไม้ยืนต้น 28,767 ไร่ หรือ 46.03 ตารางกิโลเมตร
พื้นที่พืชผัก 19 ไร่ หรือ 3.04 ตารางกิโลเมตร
พื้นที่อื่น ๆ 16,944 ไร่ หรือ 27.11 ตารางกิโลเมตร
รวม 56,121 ไร่ หรือ 89.79 ตารางกิโลเมตร
หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหล่อยูง
- ปั๊มน้ำมัน จำนวน 1 แห่ง
- ซุปเปอร์มาเก็ต จำนวน 2 แห่ง
- โรงค้าไม้ จำนวน 1 แห่ง
- โรงงานแปรรูปไม้ยางพารา จำนวน 2 แห่ง
- โรงงานคอนกรีตอัดแรง จำนวน 1 แห่ง
- โรงอิฐดินเผา จำนวน 3 แห่ง
- โรงโม่หิน จำนวน 1 แห่ง
- เหมืองหินแกรนิต จำนวน 2 แห่ง
- โรงงานผลิตน้ำดื่ม / น้ำแข็งหลอด จำนวน 2 แห่ง
0
การศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
สถาบันในสังกัดขององค์การบริหารส่วนตำบลหล่อยูงมีอยู่ 2 แห่ง คือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทองหลาง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดนากลาง นอกนั้นเป็นสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพังงา จำนวน 7 แห่ง สรุปได้ดังนี้
โรงเรียนอาชีวศึกษา จำนวน - แห่ง
ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน จำนวน 2 แห่ง
สถาบันและองค์กรทางศาสนา
วัด จำนวน 1 แห่ง
1. วัดนากลาง (วัดหล่อยูง) หมู่ที่ 10 (บ้านหล่อยูงตะวันออก)
มัสยิด จำนวน 6 แห่ง
1. หมู่ที่ 3 (บ้านนา)
2. หมู่ที่ 4 (บ้านทองหลาง)
3. หมู่ที่ 6 (บ้านแหลมหิน)
4. หมู่ที่ 7 (บ้านบางจัน)
5. หมู่ที่ 8 (บ้านในหยง)
6. หมู่ที่ 9 (บ้านบากัน)
สาธารณสุข
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหล่อยูง จำนวน 2 แห่ง
1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพหล่อยูง หมู่ที่ 1 (บ้านหล่อยูง)
2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านทองหลาง หมู่ที่ 4 (บ้านทองหลาง)
อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100
จำนวนอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ตำบลหล่อยูง มีจำนวน ดังนี้
1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพหล่อยูง หมู่ที่ 1 (บ้านหล่อยูง) จำนวน 93 คน
2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านทองหลาง หมู่ที่4 (บ้านทองหลาง) จำนวน 51 คน
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ป้อมตำรวจ จำนวน 1 แห่ง
1. หมู่ที่ 1 (บ้านหล่อยูง) สามแยกบายพาสต้นไม้ใหญ่
อปพร. จำนวน 68 คน
0
การคมนาคม
องค์การบริหารส่วนตำบลหล่อยูง มีถนนสายหลัก จำนวน 3 สาย คือ
1. ถนนเพชรเกษม ระยะทาง 2 กิโลเมตร คือ ระหว่างกิโลเมตร ที่ 42 – 44
2. ถนนสายหล่อยูง - คลองเคียน ระยะทาง 16 กิโลเมตร
3. ถนนสายท่านุ่น - ในหยง ระยะทาง 6.5 กิโลเมตร
( ถนนดินในหมู่บ้าน ประมาณ 3,000 เมตร )
การโทรคมนาคม
- ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข........1……แห่ง (ตัวแทน)
- สถานีโทรคมนาคมอื่นๆ………3………แห่ง
การไฟฟ้า
ตำบลหล่อยูงมีไฟฟ้าใช้เกือบทุกครัวเรือน ยกเว้นครัวเรือนที่สร้างบ้านบนที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์
สะพาน
องค์การบริหารส่วนตำบลหล่อยูง มีสะพาน คสล. จำนวน 9 แห่ง ดังนี้
แหล่งน้ำธรรมชาติ
ตำบลหล่อยูงมีแหล่งน้ำธรรมชาติทั้งสิ้น จำนวน 9 แห่ง โดยแบ่งออกเป็นลำคลอง 6 สาย หนองน้ำอีก 3 หนองน้ำ ดังนี้
คลอง 7 สาย
- คลองหล่อยูง หมู่ที่ 1 บ้านหล่อยูง
- คลองบางปลา หมู่ที่ 2 บ้านบางปลา
- คลองนาไร่ หมู่ที่ 3 บ้านนา
- คลองทองหลาง หมู่ที่ 4 บ้านทองหลาง
- คลองในหยง หมู่ที่ 8 บ้านในหยง
- คลองบากัน หมู่ที่ 9 บ้านบากัน
หนองน้ำ 3 แห่ง คือ
- ห้วยไร่บี หมู่ที่ 4 บ้านทองหลาง
- พรุผักหนาม หมู่ที่ 5 บ้านควน
- ขุมจระเข้ หมู่ที่ 8 บ้านในหยง
0
ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
- ป่าชายเลน ประมาณ 1,500 ไร่ หรือ 2.40 ตารางกิโลเมตร
- ป่าไม้สาธารณะประโยชน์ ประมาณ 70 ไร่ หรือ 0.12 ตารางกิโลเมตร
มวลชนจัดตั้งและเศรษฐกิจ
- กลุ่มสตรี 10 กลุ่ม ( สมาชิกจำนวน 218 คน )
- กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต 7 กลุ่ม คือ ตั้งอยู่ที่
หมู่ที่ 1 บ้านหล่อยูง หมู่ที่ 2 บ้านบางปลา หมู่ที่ 3 บ้านนา
หมู่ที่ 6 บ้านแหลมหิน หมู่ที่ 7 บ้านบางจัน หมู่ที่ 8 บ้านในหยง
หมู่ที่ 9 บ้านบากัน
- กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรหมู่ที่ 2 (บ้านบางปลา)
- กลุ่มสหกรณ์ ( สกย.) บ้านควน
- กลุ่มผู้ใช้น้ำประปาหมู่บ้าน 10 กลุ่ม
หมู่ที่ 1 บ้านหล่อยูง หมู่ที่ 2 บ้านบางปลา หมู่ที่ 3 บ้านนา
หมู่ที่ 4 บ้านนา หมู่ที่ 5 บ้านควน หมู่ที่ 6 บ้านแหลมหิน
หมู่ที่ 7 บ้านบางจัน หมู่ที่ 8 บ้านในหยง หมู่ที่ 9 บ้านบากัน
หมู่ที่ 10 บ้านหล่อยูงตะวันออก
- กองทุนหมู่บ้าน (10 หมู่บ้าน 10 กลุ่ม )
- กลุ่มแปรรูปถั่วลิสงอบแห้ง ( หมู่ที่ 2 บ้านบางปลา 1 กลุ่ม )
- กลุ่มสาธิตการประมง ( หมู่ที่ 7 บ้านบางจัน 1 กลุ่ม )
- กลุ่มยุวเกษตรกร ( หมู่ที่ 8 บ้านในหยง 1 กลุ่ม )
- กลุ่มผ้าบาติก ( หมู่ที่ 6 บ้านแหลมหิน / หมู่ที่ 8 บ้านในหยง 1 กลุ่ม
0
ก. ศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบล
(1) จำนวนบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลหล่อยูง 0 คน ประกอบด้วย
- คณะผู้บริหาร จำนวน 4 คน
- สมาชิก อบต. หล่อยูง จำนวน 10 คน
- พนักงานส่วนตำบล จำนวน 4 คน
- ลูกจ้างประจำ จำนวน 1 คน
- พนักงานจ้าง จำนวน 25 คน
- ระดับการศึกษาของบุคลากร
- ประถมศึกษา จำนวน 3 คน
- มัธยมศึกษา/อาชีวะศึกษา จำนวน 14 คน
- ปริญญาตรี จำนวน 15 คน
- สูงกว่าปริญญาตรี จำนวน 2 คน
ข. ศักยภาพของชุมชนและพื้นที่
การรวมกลุ่มของประชาชน
1. องค์การบริหารส่วนตำบลหล่อยูง มีสภาพพื้นที่เป็นราบลุ่มหุบภูเขา และพื้นที่ชายฝั่งทะเลจึงสามารถทำการเกษตร และการประมงชายฝั่งได้ การพัฒนาท้องที่ การบริหารงานต่างๆ ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่
2. สถานที่ท่องเที่ยวในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลหล่อยูงยังไม่มี แต่กำลังจะบุกเบิกน้ำตกบางปลาหมู่ที่ 2 บ้านบางปลา , บุกเบิกพรุผักหนาม หมู่ที่ 5 บ้านควน , วังชาวเล หมู่ที่ 4 , ชายทะเลบ้านเกาะแรด หมู่ที่ 6, บ้านบางจัน หมู่ที่ 7 , บ้านบากัน หมู่ที่ 9 ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของตำบลหล่อยูงต่อไป
3.ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่หากมองโดยรวมยังมีอยู่มากซึ่งสามารถนนทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้มาพัฒนาให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนได้อย่างมากมาย แต่ประชาชนทุกคนและทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้ให้คงอยู่ไว้นานๆ
4. การประกอบอาชีพ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น การทำสวนยางพาราฯ ซึ่งเป็นอาชีพหลักของประชาชนในพื้นที่ และเป็นพืชทางด้านการเกษตรซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดทั่วโลก ซึ่งการพัฒนาคุณภาพการผลิตและผลผลิตเป็นที่สนใจของประชาชน องค์การบริหารส่วนตำบลจะส่งเสริมและพัฒนาให้มีคุณภาพสามารถแข่งขันกับท้องถิ่นอื่นได้
0
0
ท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสารเกี่ยวกับ โครงสร้างและกระบวนการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล ได้ที่นี่